Commander 2018 – Nature Vengeance Review!
Nature Vengence
สวัสดีครับ เพื่อนๆชาว MTG ทุกท่านวันนี้เราจะมา พูดคุยเกี่ยวกับเด็ค Commander 2018 กันครับ หลังจากที่ทาง Wotc ได้ทำการออกสินค้า Commander 2018 มาล่าสุดนั้นจะเห็นได้ว่าในปีนี้ commander deck มีจุดที่เหมือนกันก็คือมี Commander เป็น Planewalker ทั้ง 4 เด็ค ซึ่งในวันนี้เราจะหยิบ เด็ค Nature Vengence ที่มี Lord Windgrace เป็น Commander มาวิเคราะห์กันครับ
ตามที่ทาง WotC ได้โฆษณาเอาไว้ว่าเด็คนี้จะเป็นเด็คจันด์( สีดำ-เขียว-แดง ) ที่เน้นการเล่นแลนด์เป็นหลัก แต่จากที่ดูการ์ดทั้งหมดในเด็คอย่างคร่าวๆนั้น จะพบว่าครีเอเชอร์ที่มีความเข้ากันกับโครงเด็คนั้นน้อยกว่าที่คิดไว้มาก โดยให้ ครีเอเชอร์ที่มีความสามารถ Land Fall(ที่จะเกิดอะบิลิตี้ เมื่อมี แลนด์เข้าสู้สนาม) แค่ 3 ตัวเท่านั้น โดยมี Nesting Dragon ที่เป็นการ์ดใบใหม่ แต่ก็ยังใช้งานยากพอสมควรเนื่องจากเรายังต้องหาวิธีการทำให้โทเค่นไข่มังกรตายถึงจะได้โทเค่นมังกรมาใช้โจมตีได้ การ์ดใหม่ที่ดีที่สุดในเด็คก็คงจะเป็น Windgrace’s Judgment ที่เราสามารถเลือกทำลายการ์ดใบไหนของใคร หรือเลือกไม่ทำลายการ์ดของใครก็ได้เช่นกัน
ในส่วนของ Legendary Creature อีก 2 ตัวที่ให้มากับเด็คเพื่อ ซัพพอร์ท หรือสลับขึ้นมาเป็น Commander แทนได้แก่ “Gyrus, Waker of Corpses” และ “Thantis,the Warweaver” นั้นไม่ได้มีความสามารถเกี่ยวข้องกับแลนด์เลย
ทำให้ผมคิดว่าหลายๆคนน่าจะผิดหวังกับเด็คนี้พอสมควร ดังนั้นผิดคิดว่าหากเราจะใช้ Lord Windgrace มาเป็น Commander เราต้องยกเครื่องเด็คนี้กันใหม่เลยทีเดียว
ความสามารถของ Lord Windgrace
เริ่มจากความสามารถของ Lord Wingrace เป็นแพลนวอลค์เกอร์ร่าย 5 ที่ได้ Loyalty 5 เม็ดถ้ากดความสามารถบวก ก็จะมี 7 เม็ดถือว่าเป็นแพลนวอลค์เกอร์ที่ถึกพอสมควร ซึ่งน่าจะพอชดเชยข้อเสียที่ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้บ้าง ความสามารถแรกนั้นนอกจากจะช่วยจั่วการ์ดหรือหมุนมือสร้างข้อได้เปรียบแล้ว ยังช่วยถมแลนด์ลงไปในหลุมเพื่อนขุดนำมาเล่นใหม่ได้อีกด้วยความสามารถที่สอง และในส่วนของความสามารถสุดท้ายนั้นน่าจะไม่ได้มีโอกาศใช้บ่อยนักเพราะน่าจะเน้นไปที่สองท่าแรกเป็นหลัก แต่การทำลายการ์ดบนสนามไปถึง 6 ใบแถมยังได้โทเค่นแมว 2/2 มาอีก 6 ตัวก็ทำให้น่าสนใจเป็นอย่างมาก การใช้ความสามารถแรกที่ทิ้งมือและจั่วอาจจะดูยั่วยวน แต่สิ่งแรกที่ควรทำหลังจากร่าย Lord Windgrace คือการใช้ความสามารถที่สองครับเพราะจะทำให้ มานาเรากระโดดจาก 5 มานา ไป 7 มานาในทันที ซึ่งเราสามารถทำได้ตั้งแต่เทิร์นที่ 3 !!
เทิร์น 1 Fetch Land + Bird of Paradise/Sol Ring
เทิร์น 2 Fetch Land + Ramp ( Signet,Cluestone,etc )
เทิร์น 3 Land + Lord Wingrace ใช้ความสามารถ ที่ 2 เอา Fetch Land ที่อยู่ในหลุมกลับมาใช้ใหม่
หลังจากนั้นเราก็พยายามนำคนอื่นๆ ด้วยการเล่น สเปลที่มีค่าร่ายสูงๆ สร้างกำไรต่างๆ ด้วยความสามารถ Land fall แล้วใช้ความสามารถ 1 และ 2 สลับไปมาเพื่อสร้างมานาให้มากขึ้นและหาของมาเติมมือได้เรื่อยๆ ซึ่งการเล่นจะคล้ายๆกับ เดค Land Fall อย่าง Omnath, Locust of Rage เเต่ข้อดีของ Lord Windgrace คือท่าแรกช่วยหาของมาเติมมือ เเละ ท่าสองนอกจากจะช่วยเรา Ramp เเล้วยังช่วย trigger land อีกด้วย ซึ่งจะต่างจากเดค and Fall ปกติที่พอเล่นหมดมือแล้วจะรู้สึกจืดๆถ้าหาใบจั่วไม่ได้
ตัวอย่างเดค
Gotta Fetch ’em All
เริ่มจากมานาที่อาจจะเป็นปัญหาหนักใจสำหรับผู้เล่นใหม่เพราะจะแนะนำว่าให้ใช้ Fetch Land ทั้ง 9 ใบซึ่งหากไม่มีก็สามารถทดแทนกันได้ด้วย Evolving Wild, Terramorphic Expanse, Slow Fetch จากชุด Mirage หรือ Panorama Cycle ซึ่งแน่นอนว่าช้ากว่าการใช้ Fetch Land มากแต่ราคาเป็นมิตรกับกระเป๋ามากกว่าเช่นกันเมื่อจับคู่กับ Cycling Land ในหลุมเราก็จะมีแลนด์ให้ Lord Windgrace ขุดอยู่เรื่อยๆ
นอกจากนี้ยังสามารถคอมโบกับพวกแลนด์พิเศษๆ อย่าง Glacial Clasm, Command Beacon เป็นต้น โดยเฉพาะถ้าเรามี Command Beacon เราจะไม่ต้องจ่าย Command Tax อีกต่อไป เพราะเราสามารถเซค Command Beacon เอา Lord Windgrace กลับขึ้นมือเเล้วค่อยใช้ความสามารถที่สองของ Lord Windgrace ขุด Command Beacon ขึ้นมาใหม่
และเมื่อเรายิ่งลงแลนด์ขุดเล่นมาลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องหา Gitrog Monster มาใส่เลยครับ โดยเจ้า Gitrog Monster เนี่ยถือว่าเป็นคีย์หลักอีก 1 ใบ ของเด็คนี้เลยก็ว่าได้เพราะเมื่อเราใช้ความสามารถแรกของ Lord Wingrace เราจะได้จั่วการ์ดเพิ่มอีก 1 ใบ จากความสามารถของเจ้า Gitrog Monster นอกจากนี้ยังมี Mending of Dominaria และ Worldshaper ที่นอกจากจะทำหน้าที่เติมหลุมให้เราแล้วยังสามารถขุดแลนด์กลับมาเล่นได้อีกด้วย
การ์ดเสริชที่ดีที่สุดสำหรับเด็คนี้น่าจะเป็น Realms Uncharted โดยเราสามารถหยิบแลนด์ที่ดีที่สุดจากเด็คของเรามา 4 ใบ โดยไม่ว่าผ่ายตรงข้ามจะเลือกอะไรขึ้นหรือลงหลุมเราก็จะได้แลนด์ทั้งหมดมาเล่นอยู่ดีจากความสามารถของ Lord Windgrace และของที่คู่กับ Fetch Land ก็คงหนีไม่พ้น Crucible of World ที่พึ่งจะรีปริ้นกลับมาในชุด Core set 2019 และ Ranumap Excavator จากชุด Hour of Devastation ที่สามารถเล่นแลนด์จากหลุมได้ ซึ่งในเมื่อมีทั้งสองใบนี้อยู่ในเด็คแล้ว คุณยังสามารถเพิ่ม การ์ดอันตรายอย่าง Wasteland, Stripmine, Dustbowl, Ghost Quarter โดยหากเพื่อนของคุณไม่อยากเล่นด้วยก็ทางเราจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นนะครับ
Landfall + Exploration
วิธีการเล่นของเด็คนี้หลักๆจะเป็นการเพิ่มมานาอย่างรวดเร็วและสร้างข้อได้เปรียบจากความสามารถ Landfall สร้างโทเค่นจาก Omnath , Locast of Rage, Zendikar Roil, Avenger of Zendikar, Rampaging Baloth หรือจั่วจาก Emblem ของ Nissa กับ Tireless Tracker ซึ่งหากเรามีการ์ดเหล่านี้อยู่บนสนามใบที่หาแลนด์มาลงสนามก็จะสร้างมูลค่ามากขึ้นไปอีก เช่น Cultivate เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถทำให้ความสามารถประเภท Landfall มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ด้วยความสามารถจำพวก Exploration อย่าง Azusa, Wayward , Mina and Den โดยเฉพาะ Mina and Den นั่นนอกจากจะช่วยให้เราเล่นแลนด์ได้มากขึ้นแล้วยังสามารถดีดเอาแลนด์กลับขึ้นมือเพื่อเล่นใหม่ได้อีกด้วย
การจบเกม
หลังจากเราตั้งบอร์ดและมีมานามากพอแล้ว เราก็จะมีวิธีปิดเกมได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการยกกองทัพโทเค่นเข้าโจมตี ดูดไลฟ์คู่ต่อสู้ด้วย Ob Nixillis หรือเอา Multani ที่มีพลังแรงๆตีเข้าไป หรือร่ายการ์ดที่ใ ช่มานาร่ายเป็น X เช่น Genesis Wave หรือ Torment of Hail Fire ปิดเกมก็ได้ เนื่องจาก Landfall เป็นความสามารถที่เป็นที่นิยมเล่นกันอยู่แล้ว โดยทั้ง Omnath Locaust of Rage และ Gitorg Monster ก็เป็นเด็คอันดับต้นๆของสีเขียวแดง และดำเขียว โดยการที่เราเอา Lord Windgrace เป็น Commander นั้นเราสามารถเอาทั้งสองตัวมารวมกันในเด็คนี้ได้อย่างลงตัว โดยถ้าเราต้องการเน้นสร้างโทเค่น ก็อาจจะเพิ่ม Parallel Live กับ Doubling Season เข้าไปแล้วปิดด้วย Createrhoof Behemoth หรืออาจจะสลับเปลี่ยนกับ Finisher ใบอื่นๆเช่น Kamahl Druid of Krosan, World Waker, Worm Harvest เป็นต้นหรือหากท่านมีทุนศรัพย์มากพอก็สามารถใส่ Demonic Tutor และ Vampiric Tutor เข้าไปเพิ่มความโหดได้ด้วย
Combo แถมท้าย
- Sacrifice creature เพื่อหาเเลนด์ จาก Perilous Forays
- Land ลง สนาม trigger ability ของ Stone-Seeder และ Omnath ขึ้น Stack
- Tap Stone-Seeder เพื่อ Untap แลนด์ก่อนเเล้วค่อย Untap Stone-Seeder
- ได้ Elemental Token จาก Landfall ของ Omnath
- วนลูป sacrifice elemental token ของ Omnaht หาเเลนด์ จาก Perilous Forays
- Elemental Token ตาย Omnath ยิง 3 damage ใส่ creature or player
- สามารถวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีแลนด์ให้ search จากเด็ค
บทสรุป
คิดว่า Lord Windgrace เป็นหนึ่งใน Commander ที่น่าเล่นมาก เพราะผมเป็นคนที่ชอบเล่นแนวสร้างมานา เยอะๆ เล่นของใหญ่ๆ อยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ผมมีเด็ค Omnath ซึ่งเป็นหนึ่งในเด็คที่ผมชอบเล่น มาก เเต่มีข้อเสียคือบางเกมถ้าใบเติมมือเราไม่ขึ้น จะเล่นลำบากมากเพราะจะหมดมือเร็วมาก ซึ่งการมี Lord Windgrace มาเป็น Commander ช่วยทั้งจั่วเเละ Ramp พร้อมทั้งได้เพิ่มสีดำขึ้นมา ช่วยเติม Gitrong Monster ใบฆ่า เเละ Tutor ต่างๆได้ ทำให้เดคลื่นไหลมากขึ้นไปอีก
แต่ก็น่าเสียดายที่ Deck Pre Con ไม่ค่อยมีการ์ดใหม่ๆมาเติม Archtype นี้ ทั้งๆที่ตอนที่ Spoiler ออกมาใหม่ๆเป็น deck ที่คิดว่าน่าสนใจที่สุดเลย สุดท้ายหวังว่าทุกคนจะสนุกไปกับบทความนี้และติดตามอ่านบทความของ Commander อื่นๆจาก Commander 2018 ได้ที่ MTG Bankok ครับ
Written By: New
Edit By: Donut